การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น

ชื่อเรื่อง         :  การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้าง
สรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนครบุรี

ชื่อผู้วิจัย       :  นางบุญธรรม รุ่งเรือง

ปีการศึกษา   :  2558

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี  2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่ 3  โรงเรียนครบุรี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผล การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3  โรงเรียนครบุรี  อำเภอ ครบุรี จังหวัดนครราชสีมา  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน  37  คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  รูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบปรนัย 4 ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ  มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.41 – 0.79  ค่าอำนาจจำแนก  ตั้งแต่ 0.24 – 0.47 และมีค่าความเชื่อมั่น  0.78   แบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.77  แบบวัดทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์   และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น  0.78  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

  1.   ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่น    นิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี  พบว่า  การจัดการศึกษามีสภาพที่คาดหวังคือเพื่อมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ  หลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่าน การจัดการเรียนรู้ต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนไป จากเดิม คือ เปลี่ยนจากการสอนความรู้เป็นการสอนวิธีการเรียนรู้  ซึ่งเทคนิควิธีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้  ซึ่งมีหลักการที่ว่าความรู้ไม่ใช่เกิดจากการสอนของครูเพียงฝ่ายเดียว การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการลงมือกระทำด้วยตนเอง ส่วนการจัด การเรียนรู้ในโรงเรียนครบุรี ผู้เรียนยังขาดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดจึงส่งผลต่อการเรียนด้านทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์และสภาพปัญหาการเรียนด้านทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี อยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D. = 1.27)
  1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนครบุรี เรียกว่า  “PIDARE Model”  ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ  หลักการ  วัตถุประสงค์  กระบวนการเรียนการสอน   สาระหลัก  สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้  ระบบสังคม  หลักการตอบสนอง   และสิ่งสนับสนุน ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพ  เท่ากับ  81.62/82.16
  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนครบุรี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=  4.26, S.D. = 0.84)

คำสำคัญ : รูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม, ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์

 

 

 

 

 

ร่วมแบ่งปันให้เพื่อนShare on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+Email this to someoneShare on LinkedInDigg this