การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย       นายสุพล   กระเชื่อมรัมย์
โรงเรียน   โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์   2562

                                                       บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  เทคนิค STAD  เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัว แปรเดียว ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  3)  เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนการสอน แบบร่วมมือ  เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ  4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียน การสอนแบบร่วมมือ  เทคนิค  STAD  เรื่อง  การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนครบุรี  อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา  สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา  จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ 1) ชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของ สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 5 ชุด 2)  แผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน 5 แผน  3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว เป็นแบบปรนัย 4  ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t – test) แบบ Dependent Sample  
          ผลการวิจัยพบว่า
                   1. ชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว มีประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน (E1/E2) เท่ากับ 80.17/81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  คือ 75/75 
                   2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
                   3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7039  คิดเป็นร้อยละ 70.39 แสดงว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.39   
                   4. นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  เทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวอยู่ในระดับมากที่สุด

ร่วมแบ่งปันให้เพื่อนShare on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+Email this to someoneShare on LinkedInDigg this