การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

 ชื่อเรื่อง  การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย                  นางสาว เกศสุดา   ธรรมสำโรง

สถานที่ทำงาน     โรงเรียนครบุรี  อำเภอครบุรี  จังหวัดนครราชสีมา

                           กองการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

ปีการศึกษา          2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1  ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนิยามความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้ และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ขั้นตอนที่ 2  พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดโครงสร้างรูปแบบการเรียนการสอน และเครื่องมือประกอบการใช้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญขั้นตอนที่ 3  ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design และขั้นตอนที่ 4 เพื่อประเมินผลและปรับปรุง การใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  โรงเรียนครบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  • ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ควรจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยการทำงานร่วมกันทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสจากการเกิดประสบการณ์ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน 7 กิจกรรม ได้แก่ การกำหนดปัญหา การตระหนักรู้ปัญหา การค้นหาสาเหตุของปัญหา การค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา การค้นหาคำตอบด้วยการลงมือปฏิบัติ การสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหา การตรวจสอบและฝึกฝน
  • นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดเชิงสร้างสรรค์

 

 

 

ร่วมแบ่งปันให้เพื่อนShare on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+Email this to someoneShare on LinkedInDigg this