รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านดนตรี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนครบุรี

ชื่อเรื่อง         รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านดนตรี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนครบุรี

ผู้ประเมิน       นายประยงค์  ขอวางกลาง  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

โรงเรียน        โรงเรียนครบุรี  องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 

ปีที่พิมพ์        2562

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมก่อนดำเนินงานตามโครงการ  2)  เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการ  3) เพื่อประเมิน กระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ  4) เพื่อประเมินผลผลิตในการดำเนินงานตามโครงการ โดยใช้  CIPP  Model  เป็นรูปแบบในการประเมิน  กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านดนตรี  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต    โรงเรียนครบุรี ปีการศึกษา  2561 แบ่งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนครบุรี จำนวน  15  คน สำหรับครูและวิทยากรที่เข้าร่วมโครงการใช้วิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan จำนวน  70  คน สำหรับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่ร่วมโครงการใช้วิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan จำนวน 302 คน  และผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน 302  คน  ในปีการศึกษา  2561  รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น  689 คนของโรงเรียนครบุรี  อำเภอครบุรี  จังหวัดนครราชสีมา และกลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านดนตรี จำนวน 30  คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น  แบบมาตราส่วนประมาณค่า  จำนวน  15   ฉบับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ร้อยละ  ค่าทดสอบที t – test dependent

          ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

          1.  ด้านสภาวะแวดล้อม

             ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถพิเศษ ด้านดนตรี  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนครบุรีครูผู้สอน และนักเรียนเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมที่มีต่อการส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านดนตรี โรงเรียนครบุรี  ในปีการศึกษา  2561  โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  พบว่าสภาวะแวดล้อมที่เป็นอยู่เอื้อต่อการส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านดนตรี ทั้งในด้านสถานที่  บุคลากร  ความสนใจของผู้เรียน  และกำลังสนับสนุนจากโรงเรียน  

.         2.  ด้านปัจจัยเบื้องต้น

             โครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านดนตรี  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนครบุรี ระบุหลักการและเหตุผล  วัตถุประสงค์  และเป้าหมายของโครงการ ได้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน  สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ตลอดจนมีความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นและวิธีดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด

          3.  ด้านกระบวนการ

               กระบวนการในการดำเนินงานตามกิจกรรมต่าง ๆ  ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านดนตรี   เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนครบุรี ระหว่างดำเนินการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและเมื่อสิ้นสุดโครงการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  แสดงให้เห็นว่า  กระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับและส่งผลให้การดำเนินงานตามกิจกรรมต่าง ๆ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการทุกประการ

          4.  ด้านผลผลิต

             4.1  ผลการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านดนตรี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนครบุรี มีความคิดเห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด

4.2  ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน

ด้านดนตรี  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนครบุรี นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านดนตรี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนครบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด

ร่วมแบ่งปันให้เพื่อนShare on FacebookTweet about this on TwitterShare on Google+Email this to someoneShare on LinkedInDigg this