กิจกรรม “สืบสานงานศิลป์ ถิ่นเพลงโคราช”

เมื่อวันที่ 29 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จัดกิจกรรม “สืบสานงานศิลป์ ถิ่นเพลงโคราช” แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 – 5/6 ณ ห้องโสตทัศนศึกษา เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวนครราชสีมา และร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานเอกลักษณ์ท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป โดยมีครูเพลงโคราชผู้มีชื่อเสียงของจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ นายบุญสม  สังข์สุข (บุญสม  กำปัง) นายกสมาคมเพลงโคราช คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และนางสาวลำไย   พานิชย์ (ลำไย  หนองม่วง) ประชาสัมพันธ์สมาคมเพลงโคราช คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นวิทยากรให้ความรู้

กีฬา-กรีฑานักเรียนภายในประจำปี 2559

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑานักเรียนภายในประจำปี 2559 ระหว่างวันที่ 12-14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยมีนายธงชัย  โอฬารพัฒนะชัย นายอำเภอครบุรี เป็นประธาน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ รู้จักการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการคัดเลือกตัวแทนนักกีฬาเพื่อเข้าแข่งขันในระดับสูงขึ้นต่อไป

บันทึก

การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การจำแนกสาร

ชื่อเรื่อง              การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3  รหัส ว 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร

ผู้วิจัย                 นางสาวเกศสุดา  ธรรมสำโรง

สถานที่ทำงาน     โรงเรียนครบุรี   อำเภอครบุรี   จังหวัดนครราชสีมา

กองการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

 ปีการศึกษา         2558

บทคัดย่อ

การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3  รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การจำแนกสาร  นั้นเชื่อว่า ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  โดยอาศัยสื่อที่มีประสิทธิภาพ  วิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย  (1)  เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร  ที่มีประสิทธิภาพ  80/80  (2)  เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล  โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3  รหัส ว22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การจำแนกสาร  (3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3  รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  (4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้ชุดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนครบุรี  อำเภอครบุรี  จังหวัดนครราชสีมา  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2558   จำนวน  40  คน  จาก 1 ห้องเรียน  ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster  Random  Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  1)  ชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร  จำนวน 6 ชุด  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จำนวน  30 ข้อ  ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ () ตั้งแต่  0.33 – 0.71 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ทั้งฉบับ  () เท่ากับ 0.90   3)  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน  จำนวน  20  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  ()  ตั้งแต่  0.37 – 1.48  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α ) เท่ากับ 0.80  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้ t – test  (Dependent  Samples)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  1. ชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การจำแนกสาร  มีประสิทธิภาพ (/)  เท่ากับ  82.33 / 82.83
  1. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง  การจำแนกสาร  มีค่าเท่ากับ  0.70
  1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  1. นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร   โดยรวมอยู่ในระดับมาก

โดยสรุป  การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัสว 22101ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 เรื่อง การจำแนกสาร  ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีความพึงพอใจต่อการเรียนสูงขึ้น  จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ นำชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียน บรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป

 

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

 ชื่อเรื่อง  การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย                  นางสาว เกศสุดา   ธรรมสำโรง

สถานที่ทำงาน     โรงเรียนครบุรี  อำเภอครบุรี  จังหวัดนครราชสีมา

                           กองการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

ปีการศึกษา          2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1  ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนิยามความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้ และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ขั้นตอนที่ 2  พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดโครงสร้างรูปแบบการเรียนการสอน และเครื่องมือประกอบการใช้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญขั้นตอนที่ 3  ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design และขั้นตอนที่ 4 เพื่อประเมินผลและปรับปรุง การใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  โรงเรียนครบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  • ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ควรจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยการทำงานร่วมกันทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสจากการเกิดประสบการณ์ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน 7 กิจกรรม ได้แก่ การกำหนดปัญหา การตระหนักรู้ปัญหา การค้นหาสาเหตุของปัญหา การค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา การค้นหาคำตอบด้วยการลงมือปฏิบัติ การสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหา การตรวจสอบและฝึกฝน
  • นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  • ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดเชิงสร้างสรรค์

 

 

 

งามอย่างไทย ครูและนักเรียนครบุรีร่วมใจแต่งผ้าไทยพื้นเมืองในวันสุนทรภู่

มื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ครูและนักเรียนโรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พร้อมใจกันแต่งชุดไทยพื้นเมืองในกิจกรรมวันสุนทรภู่ ประจำปีการศึกษา 2559 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจในผ้าพื้นเมืองอัน เป็นเอกลักษณ์ถิ่นของตนเองที่สะท้อนผ่านออกมาทางลวดลายของผืนผ้า รวมทั้งยังเป็นการร่วมเชิดชูและช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทยอีก ด้วย สำหรับผ้าไทยที่นักเรียนนำมาสวมใส่นั้น โรงเรียนได้กำชับให้นักเรียนเน้นเรื่องการประหยัด แต่มีความสวยงาม และสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยอาจจะขอยืมผ้าไทยของแม่ ป้า หรือญาติ ๆ มาสวมใส่ก็ได้

กิจกรรมวันสุนทรภู่ ปีการศึกษา 2559

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจัดกิจกรรมวันสุนทรภู่ ประจำปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เพื่อให้นักเรียนได้ทราบชีวประวัติและวรรณกรรมของสุนทรภู่ และมีความภาคภูมิใจในความสามารถของกวีเอกของโลก ตลอดจนมีความสามารถในการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง ๆ ได้แก่ พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณท่านสุนทรภู่ การแสดงเปิดตัวละครจากเรื่อง “พระอภัยมณี” การแสดงพระสุธนและนางมโนราห์ การประกวดจัดป้ายนิเทศ การประกวดการแต่งกายผ้าไทย และผลงานการประกวดกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน เป็นต้น

ร่วมงานนิทรรศการแสดงผลงานทางการศึกษาและแข่งขันทักษะวิชาการ โรงเรียน อบจ. นครราชสีมา ประจำปี 2559 “วันสุดยอดเด็กไทย”

ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทางการศึกษาและแข่งขันทักษะวิชาการ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2559 “วันสุดยอดเด็กไทย” ระหว่างวันที่ 14-15 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ สนามเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม ในส่วนนิทรรศการของโรงเรียนครบุรี นั้น โรงเรียนได้นำเสนอผลงานที่โดดเด่น 2 เรื่อง คือ ครบุรี : โรงเรียนคุณภาพ เรียนรู้…สู่ความก้าวหน้า และการจัดการเรียนการสอนภาษาเขมร ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก

ประชุมผู้ปกครองของนักเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายธนดล ชัยยุทธ นายกเทศมนตรีตำบลแชะ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนครบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมผู้ปกครองของนักเรียน ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ณ หอประชุมโรงเรียนครบุรี เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีและร่วมดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตลอดจนหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีผู้ปกครองนักเรียนให้ความสนใจเข้าร่วมประชุมกันเป็นจำนวนมาก