กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจัดการประกวดและแข่งขันทักษะทางภาษาอังกฤษ ระหว่างวันที่ 22 – 30 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศและกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวาง ตลอดจนมีโอกาสแสดงความสามารถของตนออกมาในเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งยังเป็นการเตรียมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมประกวดและแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้นต่อไปอีกด้วย โดยกิจกรรมที่ได้จัดให้มีการประกวดและแข่งขัน ได้แก่ การแข่งขันตอบปัญหาภาษาอังกฤษ การแข่งขันสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การประกวดการอ่านข่าวภาษาอังกฤษ และการประกวดร้องเพลงสากล
admin
อบรมคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีจัดการอบรมคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในวันที่ 30 เดือนสิงหาคม ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โดยมีคณะวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 3 คน เป็นผู้อบรมความรู้ให้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CS3 การสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Dreamweaver CS3 และการตัด-ต่อวีดิทัศน์ด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio
สะพานไม้ร้อยปี บ้านโคกกระชาย
สะพานไม้ร้อยปี ตั้งอยู่ที่บ้านโคกกระชาย ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นสะพานที่ใช้เพื่อการสัญจรไปมาของชาวบ้านในแถบนี้ ตัวสะพานได้ผ่านการซ่อมแซมและปรับปรุงมาหลายรุ่น หลายครั้ง จนมีอายุเกินกว่าร้อยปี ซึ่งแต่เดิมนั้นมีการใช้ไม้ทั้งหมดในการสร้างและซ่อมแซม แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนจากเสาไม้มาเป็นเสาปูน เพื่อให้มีความความแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการไปเที่ยวชมคือ ช่วงเย็น ๆ ของปลาย ๆ ฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ท้องทุ่งที่เต็มไปด้วยต้นข้าวที่กําลังขึ้นเขียวขจี หรือช่วงฤดูหนาว ขณะที่ต้นข้าวกำลังออกรวงจนเป็นสีเหลืองทองไปทั่วท้องทุ่งนา
การเดินทางไปยังสะพานไม้ร้อยปี ให้ใช้เส้นทางเดียวกันกับการไปเขื่อนลำแชะและน้ำตกวังเต่า แต่จะถึงสะพานไม้ร้อยปีก่อน เริ่มต้นจากตัวเมืองนครราชสีมา ให้ใช้เส้นทาง 224 สายนครราชสีมา – อำเภอโชคชัย มุ่งหน้าสู่อำเภอครบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร เมื่อผ่านหน้าโรงเรียนครบุรีได้ประมาณ 2 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาที่แยกสุรนารีสันติและใช้เส้นทางหลวงชนบท 4040 สายบ้านโคกเจริญ- บ้านโนนกุ่ม ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลโคกกระชาย โดยใช้เส้นทางผ่านเข้าไปในหมู่บ้านอีกประมาณ 900 เมตร ผ่านหน้าวัดอุดมทุ่งสว่าง จากนั้นให้ข้ามคลองตะกุด ก็จะถึงสะพานไม้ร้อยปี
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
น้ำตกวังเต่า
น้ำตกหรือแก่งวังเต่า ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ด้านทิศใต้สุดของอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีสภาพเป็นแก่งหินซ้อนตัวเป็นชั้นหลายระดับ ถือเป็นต้นน้ำที่ไหลเข้าสู่เขื่อนลำแชะ อำเภอครบุรี แล้วไหลไปบรรจบกันกับลำมูลจนก่อเกิดเป็นแม่น้ำมูลในที่สุด แก่งวังเต่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีทัศนียภาพอันงดงาม ไม่ว่าจะเป็นลำน้ำอันคดเคี้ยว ภูเขา ป่าไม้ที่ยังคงความสมบูรณอยู่มาก อีกทั้งยังเป็นแหล่งดูนกสวยงาม และผีเสื้อนับร้อยสายพันธุ์อีกด้วย การเดินทางไปยังแก่งวังเต่า เริ่มต้นจากตัวเมืองนครราชสีมา ใช้เส้นทาง 224 สายนครราชสีมา – อำเภอโชคชัย มุ่งหน้าสู่อำเภอครบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร เมื่อผ่านหน้าโรงเรียนครบุรีได้ประมาณ 2 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาที่แยกสุรนารีสันติและใช้เส้นทางหลวงชนบท 4040 สายบ้านโคกเจริญ- บ้านโนนกุ่ม ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายที่ป้อมตำรวจโดยใช้เส้นทางหลวงชนบท 3462 อีก 8 กิโลเมตร ก็จะถึงท่าแพที่บ้านมาบกราด ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จากนั้นใช้บริการนั่งแพหรือเรือหางยาวเพื่อล่องไปตามลำแชะ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีสำหรับเรือหางยาว หากเป็นแพขนาดใหญ่ก็อาจใช้เวลานานกว่านี้ ก็จะพบลำธารที่ไหลผ่านแก่งหินอันสวยงาม จากจุดนี้ ให้เดินเท้าตามรอยเดินป่าไปอีกประมาณ 400 เมตร ก็จะถึงตัวน้ำตก หากเป็นช่วงหน้าฝน น้ำจะไหลค่อนข้างเชี่ยว จึงไม่เหมาะที่จะลงเล่นน้ำตกเท่าไหร่นัก แต่ถ้าหมดช่วงฤดูฝน เราสามารถสนุกสนานกับการเล่นน้ำที่ไหลเย็นและใสสะอาดได้ ผู้ให้บริการล่องแพและเรือหางยาว บ้านมาบกราด แพลูกตาล โทรศัพท์ 088-3599132 แพน้องกานต์ โทรศัพท์ 085-4919005 แพสำรวยลำแชะ โทรศัพท์ 087-2593940, 089-0491010 แพพี่วิล โทรศัพท์ 080-1854362 แพฮอลิเดย์ โทรศัพท์ 082-5186955 อัตราค่าบริการ เรือหางยาว ราคาประมาณ 800 บาท จุคนได้ประมาณ 6-10 คน แพขนาดกลาง ราคาประมาณ 3,000 บาท จุคนได้ประมาณ 30-40 คน หากมีขนาดใหญ่กว่านี้ ราคาก็จะสูงขึ้น โดยสามารถต่อรองราคากันได้ เนื่องจากผู้ให้บริการทุกรายเป็นคนในพื้นที่ |
|
![]() |
![]() |
การจะไปชมน้ำตกวังเต่าได้นั้นต้องนั่งเรือหางยาวไปตามลำแชะอันคดเคี้ยวไปมา หรืออาจจะใช้บริการล่องแพไปก็ได้ | |
![]() |
![]() |
ระหว่างทางก็จะพบชาวบ้านหาปลาอยู่เสมอ บางคนยอมลงทุนเช่าแพขนาดใหญ่เพื่อมาหาปลาโดยเฉพาะ | |
![]() |
![]() |
นักหาปลามีทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ซึ่งหลายคนต่างสมหวังที่ได้มาที่นี่ โดยปลาที่ตกได้ ส่วนใหญ่จะเป็นปลาสูบ ปลานิลและปลาชะโด เป็นต้น | |
![]() |
![]() |
ก่อนจะถึงน้ำตกวังเต่า จะพบลำแชะที่ไหลผ่านแก่งหินอันสวยงาม จุดนี้สามารถลงเล่นน้ำได้ | |
![]() |
![]() |
ในบางปี หากมีน้ำในเขื่อนลำแชะอยู่มาก เราอาจไม่เห็นแก่งหินเหล่านี้เพราะถูกน้ำท่วมจนหมด | |
![]() |
![]() |
ต้องเดินป่าไปอีกประมาณ 400 เมตร ก็จะถึงตัวน้ำตกวังเต่า ระหว่างทางสามารถพบผีเสื้อสวย ๆ จำนวนมาก รวมถึงมูลช้างด้วย |
|
![]() |
![]() |
ถึงแล้วตัวน้ำตกวังเต่าอันสวยงาม หากเป็นหน้าฝน ค่อนข้างอันตราย แต่ถ้าเป็นหน้าแล้ง น้ำจะลดลงมาก สามารถลงเล่นน้ำได้อย่างสบาย |
กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปีการศึกษา 2559
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2559 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปีการศึกษา 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและสดุดีในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม และแสดงออกทางด้านวิทยาศาสตร์ตามความสนใจ ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ พิธีบวงสรวงพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พิธีวางพวงมาลัยรำลึกคุณูปการและสักการะรูปหล่อนักวิทยาศาสตร์เอกของโลก การแสดงนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์ไทย การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ และการแข่งขันจรวดขวดน้ำ เป็นต้น
การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนครบุรี
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนครบุรี
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า : นางบุญธรรม รุ่งเรือง
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนครบุรี ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนครบุรี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนครบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.37 – 0.79 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.21 – 0.47 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ ค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนครบุรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.79/82.28 ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ประโยค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนครบุรี มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.42 อยู่ในระดับ มาก
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้าง
สรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี
ชื่อผู้วิจัย : นางบุญธรรม รุ่งเรือง
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผล การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนครบุรี อำเภอ ครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.41 – 0.79 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.24 – 0.47 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.78 แบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.77 แบบวัดทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
- ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่น นิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี พบว่า การจัดการศึกษามีสภาพที่คาดหวังคือเพื่อมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่าน การจัดการเรียนรู้ต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนไป จากเดิม คือ เปลี่ยนจากการสอนความรู้เป็นการสอนวิธีการเรียนรู้ ซึ่งเทคนิควิธีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีหลักการที่ว่าความรู้ไม่ใช่เกิดจากการสอนของครูเพียงฝ่ายเดียว การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการลงมือกระทำด้วยตนเอง ส่วนการจัด การเรียนรู้ในโรงเรียนครบุรี ผู้เรียนยังขาดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดจึงส่งผลต่อการเรียนด้านทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์และสภาพปัญหาการเรียนด้านทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี อยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D. = 1.27)
- รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี เรียกว่า “PIDARE Model” ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.62/82.16
- ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.26, S.D. = 0.84)
คำสำคัญ : รูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม, ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
สานฝันสู่นายทหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 210 คน ไปทัศนศึกษา ณ โรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 20 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความใฝ่ฝันที่จะศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าต่อไป