การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น

ชื่อเรื่อง         :  การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้าง
สรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนครบุรี

ชื่อผู้วิจัย       :  นางบุญธรรม รุ่งเรือง

ปีการศึกษา   :  2558

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี  2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่ 3  โรงเรียนครบุรี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผล การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3  โรงเรียนครบุรี  อำเภอ ครบุรี จังหวัดนครราชสีมา  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน  37  คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  รูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบปรนัย 4 ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ  มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.41 – 0.79  ค่าอำนาจจำแนก  ตั้งแต่ 0.24 – 0.47 และมีค่าความเชื่อมั่น  0.78   แบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.77  แบบวัดทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์   และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น  0.78  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

  1.   ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่น    นิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี  พบว่า  การจัดการศึกษามีสภาพที่คาดหวังคือเพื่อมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ  หลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่าน การจัดการเรียนรู้ต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนไป จากเดิม คือ เปลี่ยนจากการสอนความรู้เป็นการสอนวิธีการเรียนรู้  ซึ่งเทคนิควิธีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้  ซึ่งมีหลักการที่ว่าความรู้ไม่ใช่เกิดจากการสอนของครูเพียงฝ่ายเดียว การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการลงมือกระทำด้วยตนเอง ส่วนการจัด การเรียนรู้ในโรงเรียนครบุรี ผู้เรียนยังขาดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดจึงส่งผลต่อการเรียนด้านทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์และสภาพปัญหาการเรียนด้านทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี อยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D. = 1.27)
  1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนครบุรี เรียกว่า  “PIDARE Model”  ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ  หลักการ  วัตถุประสงค์  กระบวนการเรียนการสอน   สาระหลัก  สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้  ระบบสังคม  หลักการตอบสนอง   และสิ่งสนับสนุน ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพ  เท่ากับ  81.62/82.16
  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนครบุรี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนครบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=  4.26, S.D. = 0.84)

คำสำคัญ : รูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม, ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์

 

 

 

 

 

สานฝันสู่นายทหาร

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 210 คน ไปทัศนศึกษา ณ โรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 20 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความใฝ่ฝันที่จะศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าต่อไป

โรงเรียนครบุรีร่วมรณรงค์ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 4 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08.00 น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนครบุรี ได้ร่วมเดินขบวนภายในเขตเทศบาลตำบลแชะเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติม ซึ่งจะมีการจัดขึ้นในวันที่ 7 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ ในอำเภอครบุรี ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรครบุรี เทศบาลตำบลแชะ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอครบุรี ที่ทำการปกครองอำเภอครบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โรงเรียนบ้านใหม่พิทยาคม โรงเรียนเฉลียงพิทยาคม โรงเรียนครบุรีวิทยา โรงเรียนบ้านแชะ และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอครบุรี พร้อมด้วยกลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ โดยมีนายธงชัย โอฬารพัฒนะชัย นายอำเภอครบุรี เป็นประธานและได้ร่วมเดินขบวนในครั้งนี้ด้วย สำหรับการร่วมเดินขบวนรณรงค์ให้ประชาชนร่วมออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติมครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 2 แล้ว โดยครั้งแรกนั้น ได้มีการร่วมเดินขบวนรณรงค์ให้ประชาชนร่วมออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ 1 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559  

บันทึก

กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจัดกิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 125 คน เมื่อวันที่ 30-31 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ณ ไร่วนานุรักษ์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะและมีประสบการณ์ตรงจากเจ้าของภาษาอย่างแท้จริง

คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนวังโป่งพิทยาคมมาศึกษาดูงานโอเน็ตที่โรงเรียนครบุรี

เมื่อวันที่ 29 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนวังโป่งพิทยาคม อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ได้มาศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งหวังผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เนื่องจากโรงเรียนครบุรีมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  อยู่ในลำดับต้น ๆ ของจังหวัดนครราชสีมา มาเป็นเวลานานหลายปีติดต่อกัน โดยมีนางพิรมย์  ภักดีแก้ว และนางจุไรรัตน์  ปรากฎมาก เป็นวิทยากร

กิจกรรม “สืบสานงานศิลป์ ถิ่นเพลงโคราช”

เมื่อวันที่ 29 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จัดกิจกรรม “สืบสานงานศิลป์ ถิ่นเพลงโคราช” แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 – 5/6 ณ ห้องโสตทัศนศึกษา เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวนครราชสีมา และร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานเอกลักษณ์ท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป โดยมีครูเพลงโคราชผู้มีชื่อเสียงของจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ นายบุญสม  สังข์สุข (บุญสม  กำปัง) นายกสมาคมเพลงโคราช คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และนางสาวลำไย   พานิชย์ (ลำไย  หนองม่วง) ประชาสัมพันธ์สมาคมเพลงโคราช คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นวิทยากรให้ความรู้

กีฬา-กรีฑานักเรียนภายในประจำปี 2559

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาจัดการแข่งขันกีฬา-กรีฑานักเรียนภายในประจำปี 2559 ระหว่างวันที่ 12-14 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยมีนายธงชัย  โอฬารพัฒนะชัย นายอำเภอครบุรี เป็นประธาน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ รู้จักการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการคัดเลือกตัวแทนนักกีฬาเพื่อเข้าแข่งขันในระดับสูงขึ้นต่อไป

บันทึก

การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การจำแนกสาร

ชื่อเรื่อง              การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3  รหัส ว 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร

ผู้วิจัย                 นางสาวเกศสุดา  ธรรมสำโรง

สถานที่ทำงาน     โรงเรียนครบุรี   อำเภอครบุรี   จังหวัดนครราชสีมา

กองการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

 ปีการศึกษา         2558

บทคัดย่อ

การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3  รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การจำแนกสาร  นั้นเชื่อว่า ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  โดยอาศัยสื่อที่มีประสิทธิภาพ  วิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย  (1)  เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร  ที่มีประสิทธิภาพ  80/80  (2)  เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล  โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3  รหัส ว22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การจำแนกสาร  (3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3  รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  (4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้ชุดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนครบุรี  อำเภอครบุรี  จังหวัดนครราชสีมา  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2558   จำนวน  40  คน  จาก 1 ห้องเรียน  ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster  Random  Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  1)  ชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร  จำนวน 6 ชุด  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จำนวน  30 ข้อ  ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ () ตั้งแต่  0.33 – 0.71 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ทั้งฉบับ  () เท่ากับ 0.90   3)  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน  จำนวน  20  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  ()  ตั้งแต่  0.37 – 1.48  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α ) เท่ากับ 0.80  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ใช้ t – test  (Dependent  Samples)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  1. ชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การจำแนกสาร  มีประสิทธิภาพ (/)  เท่ากับ  82.33 / 82.83
  1. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัส ว 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง  การจำแนกสาร  มีค่าเท่ากับ  0.70
  1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  1. นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3รหัส ว 22101  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่อง การจำแนกสาร   โดยรวมอยู่ในระดับมาก

โดยสรุป  การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 รหัสว 22101ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 เรื่อง การจำแนกสาร  ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีความพึงพอใจต่อการเรียนสูงขึ้น  จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ นำชุดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียน บรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป